ในนาทีนี้ไม่มีใครที่ไม่พูดถึง “ ตลาดน้ำคลองแห ” ตลาดน้ำคลองแหอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยงของจังหวัดสงขลา
เป็นตลาดน้ำน้องใหม่แห่งแรกของภาคใต้
ท่านนายกเทศบาลคลองแห นายอนันต์ การันสันติได้ให้ข้อมูลของตลาดน้ำคลองแหว่า
ณ บริเวณตลาดน้ำในปัจจุบัน เมื่ออดีตกว่า 50 ปีที่ผ่านมาเป็นตลาดนัดเก่ามาแต่เดิม พ่อค้าแม่ขายพายเรือตามคลอง
ซื้อขายกันมาแต่ดั้งเดิมจนการคมนาคมที่พัฒนาสะดวกมากขึ้น ตลาดน้ำก็เริ่มลดจางหายไป
จนกระทั่งนายอภิชาติ สังขาชาติ
ในสมัยที่ยังไม่ได้รับตำแหน่งตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองคลองแหที่ได้ล่องเรือชมทัศนียภาพของสองฝั่งคลอง
สังเกตุพบเห็บวิถีชาวบ้านแบบดั้งเดิม เช่น การยกหาบ พายเรือเก็บผักบุ้งจึงเป็นแนวคิดและถูกพัฒนาต่อยอดมาครั้นเมื่อได้มีโอกาส
เข้ารับตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองคลองแห
ท่านจึงทุ่มเทมุ่งมั่นและตั้งใจดำเนินการตามนโยบายโดยจากเริ่มต้นศึกษาแนวทาง
รูปแบบการบริหารจัดการและอื่นๆ
และยังผลักดันผสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆทั้งในพื้นที่และจากส่วนกลางทั้งภาครัฐและเอกชน
เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรมชลประทาน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เป็นต้น เพื่อให้โครงการตลาดน้ำคลองแหบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้
ในยุคเริ่มต้นของตลาดน้ำนั้น ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเป็นไปไม่ได้ของโครงการนี้ เนื่องจากสภาพลำคลองนั้นแทบจะไม่เอื้อต่อการดำเนินการใดๆ ทั้งตื้นเขินด้วยขยะและโคลนตมอีกทั้งน้ำที่เน่าเสียแต่นั่นกลับเป็นเหมือนแรงผลักดันที่ทำให้นายอภิชาติ สังขาชาติ เร่งดำเนินโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนหันกลับมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์แม่น้ำลำคลองที่สามารถเป็นแหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพให้ท้องถิ่นได้ และอีกความตั้งใจหนึ่งก็คือ ตลาดน้ำคลองแหจะเป็นศูนย์รวมของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่สืบต่อไป
เดิมที "ตลาดน้ำคลองแห" ทดลองเปิดจำหน่ายสินค้าทางน้ำเป็นการเฉพาะกิจในช่วงประเพณีวันสงกรานต์และงานศิลปวัฒนธรรมย้อนตำนานคลองแหซึ่งเป็นไปด้วยดี
จึงมีเสียงเรียกร้องจากบรรดาพ่อค้าแม่ค้าให้เปิดดำเนินการอย่างจริงจัง
นั่นจึงเป็นจุดสำคัญของการเปิดดำเนินการเรื่อยมา "คลองแห" ที่มีเรื่องราวน่าสนใจ
เป็นเส้นทางเดินเรือเพื่อนำแก้วแหวนเงินทองไปร่วมสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ที่นครศรีธรรมราช
มีขบวนแห่แหนตีฆ้องร้องเป่า จากคลอง "ฆ้องแห่" กร่อนเสียงเรื่อยมาจนกลายมาเป็น "คลองแห" ในปัจจุบันซึ่งยังมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า
เมื่อขบวนแห่มาถึงบริเวณวัดคลองแหในปัจจุบัน
ได้รับทราบข่าวว่าพระบรมธาตุสร้างเสร็จแล้ว
ขบวนแห่สมบัติพัสถานจึงได้ฝังสมบัติต่างๆ ไว้บริเวณโคกนกคุ่ม
หรือบริเวณที่สร้างเจดีย์ของวัดคลองแหในปัจจุบัน
ตำบลคลองแห ต่อมาในปี 2538 กระทรวงมหาดไทย
ได้ประกาศเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล และตำบลคลองแหเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ในปี 2546 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลเทศบาลตำบลคลองแห
ต่อมา เทศบาลแห่งนี้มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
และมีฐานะการคลังเพียงพอที่จะบริหารกิจการ
กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลแห่งนี้เป็น
เทศบาลเมืองคลองแหโดยให้มีผลนับตั้งแต่วันนี้ คือ วันที่ 1 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตามตลาดน้ำคลองแหได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
และจำนวนประชากรนักท่องเที่ยวต่างไหลเวียนกันมา
แวะชิม ชม ช็อป
อย่างมากหน้าหลายตา มีอาหารที่ขายนั้นก็จะเป็นพวกอาหารพื้นบ้านหลากหลายทั้งไทยพุทธ
มุสลิม รวมทั้งผลไม้ ก๋วยเตี๋ยว และสินค้าพื้นเมืองนานาชาติ
เรือพายพ่อค้าแม่ค้านับร้อยมาจอดเรียงรายให้บริการริมท่าน้ำวัดคลองแหอย่างเป็นระเบียบให้เลือกชมกันอย่างเพลิดเพลินตลาดเปิดในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 – 20.00 น.
สามารถซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านได้หรือจะนั่งรับประทานบริเวณตลาดน้ำแล้วแต่สะดวก เพราะสิ่งสำคัญของภาชนะที่ใส่อาหารของที่นี่มีการรณรงค์ให้ใช้ภาชนะจำพวก กะลา กระบอกไม้ไผ่ หม้อดินเผา จะไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองคลองแหสร้างตลาดน้ำตรงริมฝั่งวัดคลองแหขึ้นในปี 2551 ปีต่อมาได้ขยายมาฝั่งคลองตรงข้ามกับวัด เนื่องจากมีพื้นที่กว้างที่จะจัดสร้างได้ทั้งตลาดน้ำและตลาดบก พร้อมทั้งที่จอดรถกว้างขวาง ซึ่งก็กลายมาเป็นแบบในปัจจุบัน มาดูพัฒนาการของตลาดน้ำคลองแห
ตลาดน้ำคลองแหจาก ปี 2551-2557
ขออนุญาตนำรูปภาพทั้งหมดมาประกอบเพื่อความสวยงามนะคะ
คลิปวิดีโอเพิ่มเติม : https://youtu.be/dNckrc0O-0A
อ้างอิงเว็บไซต์ : http://travel.thaiza.com/
http://travel.mthai.com/blog/58219.html
http://www.oknation.net/blog/krupoat/2009/11/02/entry-1
IG ; mmaybiyaeiei
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น